แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 1 ปีหลังคลอด

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลใน 12 เดือนหลังคลอด จะเป็นการติดตามดูการให้นมลูกของมารดาและสอบถามถึงอุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง พูดคุยกับมารดาถึงแรงกดดันต่างๆ ที่ต้องการให้มารดาหยุดการให้นมแม่ รวมถึงวิธีการหย่านมหากมารดามีความต้องการ ในระยะนี้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

การประเมินการกินนมแม่

  • ลักษณะการกินนมของทารกเป็นอย่างไร
  • ทารกหลับในเวลากลางคืนนานไหม
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • มารดาได้รับประทานยาใดเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงจากตั้งแต่เกิด การชั่งก่อนหน้านี้ และการชั่งน้ำหนักในครั้งนี้
  • ประเมินน้ำหนักของทารกโดยใช้กราฟติดตามการเจริญเติบโตของทารก
  • ตรวจร่างกายทารกโดยทั่วไปตามระบบ
  • ควรมีการตรวจความเข้มข้นของเลือดของทารก เพื่อตรวจสอบภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก หากทารกมีน้ำหนักขึ้นไม่เหมาะสม ลูกปฏิเสธการกินนมหรือมารดามีความวิตกกังวล

คำแนะนำที่ให้

  • ปกติมารดาควรให้นมทารก 4-8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • ทบทวนความสำคัญของการให้ลูกกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง
  • พูดคุยกับมารดาเรื่องการรับประทานธาตุเหล็กเสริม แนะนำให้ทารกกินชนิดและรสชาติของอาหารที่หลากหลาย
  • เสนอแนะให้มารดาป้อนน้ำนมที่บีบเก็บไว้หรืออาหารเสริมที่เป็นน้ำโดยใช้การป้อนด้วยถ้วย
  • พูดคุยกับมารดาในกรณีทารกมีฟันขึ้น
  • พูดคุยกับมารดาถึงพฤติกรรมของทารกที่เปลี่ยนไป การให้ความสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอาจมีการปฏิเสธการกินนม
  • พูดคุยกับมารดาเรื่องแรงกดดันให้หยุดหรือหย่านมทารกที่อาจเกิดจากคนในครอบครัวหรือเพื่อน
  • ทบทวนให้มารดาทราบถึงประโยชน์ในระยะยาวของการให้ลูกกินนมแม่
  • หากมารดามีความประสงค์จะหยุดให้นมลูก แนะนำขั้นตอนในการหย่านมทารก
  • แนะนำการรับประทานอาหารของมารดา
  • แนะนำให้มารดาตรวจเต้านมกับแพทย์

การให้การดูแล

  • หากทารกน้ำหนักขึ้นดีตามเกณฑ์และมารดารู้สึกพึงพอใจ การให้การดูแลอื่นๆ ยังไม่มีความจำเป็น

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ชื่นชมมารดากับความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่ โดยเฉพาะหากมารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้กำลังใจให้มารดาให้นมแม่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง
  • การนัดติดตามดูแลทารกอย่างต่อเนื่องยังมีความจำเป็นในช่วง 15 เดือน 18 เดือน 2 ปี หรือในทารกที่อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.