รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การตรวจมารดาและทารก
- คำนวณการขึ้นของน้ำหนักทารกและการลดของน้ำหนักทารกหลังคลอด
- สังเกตมารดาขณะให้นมลูก
- กระตุ้นให้มารดาสนใจในการตรวจการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระหว่างให้นมบุตร โดยในกรณีที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์
- ตรวจและให้ความสนใจกับลักษณะในช่องปากทารกและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกินนม
- ประเมินว่าทารกมีภาวะขาดน้ำหรือไม่
- สังเกตภาวะตัวเหลืองและค่าสารเหลืองโดยเปรียบเทียบกับกราฟที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของทารกที่มีภาวะตัวเหลือง
คำแนะนำที่ให้
- อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
- กระตุ้นให้มารดาให้นมตามความต้องการของทารก
- ทบทวนลักษณะและพฤติกรรมการกินนมปกติของทารก
- อธิบายถึงความเสี่ยงของการใช้จุกนมหลอกและควรหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก
- แนะนำให้จัดทารกนอนใกล้ๆ กับมารดาในที่ที่จัดไว้เฉพาะ การนอนบนเตียงเดียวกันที่มีพื้นที่จำกัดควรระมัดระวัง
- ไม่ควรทิ้งระยะการให้นมลูกนานระหว่างช่วงกลางคืน
- แนะนำการเสริมวิตามินดีวันละ 400 ยูนิตแก่ทารก (ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากการขาดวิตามินดีในมารดและทารก)
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.