รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
แนวทางในการควบคุมระดับน้ำตาลของมารดาให้ได้ตามเกณฑ์ที่แนะนำ จะเริ่มต้นด้วยการใช้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต (lifestyle modification) โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย1 ซึ่งในกรณีที่ใช้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างเดียวไม่ได้ผล จำเป็นต้องมีการใช้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดร่วมด้วย
การควบคุมอาหาร โดยมีหลักการในการควบคุมอาหาร 3 ประการ2 ได้แก่
- ประการที่หนึ่ง ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละวัน ซึ่งจะมีการคำนวณและควบคุมปริมาณแคลอรีที่ได้รับต่อวันตามค่าดัชนีมวลกายของสตรี
- ประการที่สอง สัดส่วนคาร์บอไฮเดรตที่ควรจะได้รับจากอาหาร ควรมีการคำนวณให้ได้รับคาร์บอไฮเดรตในสัดส่วนร้อยละ 40 ในขณะที่ได้รับโปรตีนร้อยละ 20 และไขมันร้อยละ 40 จากพลังงานที่ได้รับจากอาหาร
- ประการที่สาม การกระจายการได้รับพลังงานจากอาหาร โดยแนะนำให้มารดาแบ่งมื้ออาหารเพิ่มขึ้น เป็นรับประทานอาหาร 3 มื้อ และมีอาหารว่างระหว่างมื้อ 2-3 มื้อ เพื่อกระจายแบ่งปริมาณพลังงานที่ได้จากอาหารในแต่ละมื้อให้ลดลง ซึ่งจะลดการแกว่งขึ้นลง (fluctuation) ของระดับน้ำตาลที่สูงในกรณีที่ปริมาณพลังงานที่ได้จากอาหารในแต่ละมื้อมีปริมาณมาก
เอกสารอ้างอิง
- Brown J, Alwan NA, West J, et al. Lifestyle interventions for the treatment of women with gestational diabetes. Cochrane Database Syst Rev 2017;5:CD011970.
- Committee on Practice B-O. ACOG Practice Bulletin No. 190: Gestational Diabetes Mellitus. Obstet Gynecol 2018;131:e49-e64.