รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? การเจ็บหัวนมเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย โดยผลของการเจ็บหัวนมอาจมีผลต่อจิตใจรวมทั้งอาการซึมเศร้าของมารดาและสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ซึ่งมักพบการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหนึ่งเดือน1 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ แนะนำให้มีการซักประวัติการให้นมลูก ประวัติอาการเจ็บหัวนม ประวัติมารดา และประวัติทารก ตรวจร่างกายของมารดาและทารก และการสังเกตการดูดนมของทารก สาเหตุส่วนใหญ่จะสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติ การตรวจร่างกาย และการสังเกตทารกขณะดูดนม ในกรณีที่สงสัยการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา อาจต้องมีการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและช่วยในการรักษา ดังนั้น การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการสังเกตทารกขณะดูดนมจึงมีความจำเป็นอย่างมากและเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยหรือมองข้าม เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนมขณะที่ทารกกินนมแม่
เอกสารอ้างอิง
- Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.