เป้าหมายในการดูแลโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            การดูแลรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้น เป้าประสงค์เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นจากการที่มารดามีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับทารก ได้แก่ ทารกแรกเกิดตัวโต การคลอดทารกยากจากการติดไหล่ (shoulder dystocia) การบาดเจ็บของทารกระหว่างการคลอด (birth trauma) เช่น การมีกระดูกหักบริเวณไหปลาร้า หรือการมีการบาดเจ็บของข่ายประสาทบริเวณต้นแขน (brachial plexus injury) การเสียชีวิตของทารกแรกคลอด สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับมารดา ได้แก่ การผ่าตัดคลอด การตกเลือดหลังคลอด และภาวะครรภ์เป็นพิษ ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมระดับน้ำตาลในมารดาให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ โดยระดับน้ำตาลที่แนะนำสำหรับมารดาเพื่อที่จะลดการเกิดทารกแรกเกิดตัวโต คือ ระดับน้ำตาลก่อนมื้ออาหารควรจะต่ำกว่า 95 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารที่ 1 ชั่วโมงควรจะต่ำกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารที่ 1 ชั่วโมงควรจะต่ำกว่า 120 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร1

เอกสารอ้างอิง

  1. Committee on Practice B-O. ACOG Practice Bulletin No. 190: Gestational Diabetes Mellitus. Obstet Gynecol 2018;131:e49-e64.