รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? หากมารดามีเต้านมคัด มารดามักมีอาการเจ็บเต้านม ซึ่งหากอาการตึงคัดเต้านมมีมากอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดร่วมกับการประคบเต้านม สำหรับกรณีที่น้ำนมมารดามีมาก ไหลเร็วด้วยนั้น อาจส่งผลให้เกิดการตึงคัดของลานนม ลานนมตึงหรือแข็ง ทำให้ทารกเข้าเต้าการอมหัวนมและลานนมได้ไม่ดี ทารกอมได้เฉพาะหัวนม มารดาจึงเกิดการเจ็บหัวนมขณะให้นมลูก หรือการที่น้ำนมไหลเร็วจนเกินไป อาจทำให้ลูกสำลัก หรือออกแรงในการงับหัวนมมากขึ้น เพื่อลดความเร็วของการไหลของน้ำนม สิ่งนี้ก็อาจทำให้มารดาเจ็บหัวนมได้เช่นกัน จะเห็นว่า อาการตึงคัดเต้านม หรือน้ำนมมามาก แม้จะแสดงว่าร่างกายมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นการดูดนมของลูกได้ดี แต่หากมีมากจนทำให้ลานนมแข็งหรือตึงเกินไป อาจส่งผลเสียต่อการเข้าเต้าได้ การแก้ไขอาการตึงของลานนมที่มากเกินไปจากน้ำนมมามาก ทำได้โดยสอนให้มารดาบีบน้ำนมออกก่อน ให้ลานนมนุ่มลง จะช่วยให้ทารกอมหัวนมและลานได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และลดการเจ็บหัวนมขณะลูกกินนมได้