เด็กอ้วนจากมารดามีโฟเลตต่ำระหว่างตั้งครรภ์

IMG_1723

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า การเสริมโฟเลตเพื่อป้องกันการผิดปกติของระบบท่อประสาทของทารกระหว่างการตั้งครรภ์ ควรรับประทานโฟเลตขนาด 400 ไมโครกรัมอย่างน้อยก่อนการตั้งครรภ์หนึ่งเดือนและต่อเนื่องไปในช่วงไตรมาสแรก แต่มีการศึกษาพบว่า มารดาที่มีระดับโฟเลตต่ำระหว่างตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดการอ้วนของทารกในวัยเด็ก นอกจากนี้ การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วนยังมีความสัมพันธ์กับการมีระดับโฟเลตต่ำระหว่างการตั้งครรภ์1 ดังนั้น ในมารดาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ควรได้รับการแนะนำให้เสริมโฟเลตในระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดลูกอ้วนในวัยเด็ก

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทย กรมอนามัยได้แนะนำให้เสริมโฟเลต ธาตุเหล็ก และไอโอดีนแก่มารดาระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์การขาดวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ จึงควรเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรเน้นย้ำให้มารดาได้รับเสริมวิตามินและแร่ธาตุให้ครบถ้วนระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนในทารกที่มารดาสามารถทำได้ง่าย ได้แก่ การให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันภาวะอ้วนของทารกเมื่อเข้าสู่ในวัยเด็กแล้ว ยังช่วยให้มารดาน้ำหนักลดลงได้ดี ช่วยในเรื่องการลดไขมันในกระแสเลือดของมารดาและอาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจของมารดาได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเทศไทยถึงขนาดที่เหมาะสมของการเสริมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งจะทำให้การแนะนำมารดาทำได้อย่างเหมาะสมและมีประโยชน์สูงสุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Wang G, Hu FB, Mistry KB, et al. Association Between Maternal Prepregnancy Body Mass Index and Plasma Folate Concentrations With Child Metabolic Health. JAMA Pediatr 2016:e160845.