อาการตึงคัดเต้านมทำให้การเกิดเต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมได้

IMG_0761

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?หลังคลอดในวันที่ 2-3 มักพบว่ามารดามีอาการตึงคัดเต้านมได้บ่อย โดยหากมารดาดูแลเรื่องการให้นมลูกไม่เหมาะสม การเกิดการอักเสบของเต้านมหรือฝีที่เต้านมอาจเกิดได้ การดูแลอาการตึงคัดเต้านมนั้น ทำโดยการประคบร้อนที่เต้านม ร่วมกับการนวดเต้านม และให้ทารกได้กินนมแม่ ซึ่งหลังจากทารกกินนมแม่แล้ว การประคบเย็นจะช่วยลดการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองที่เต้านม การปล่อยให้มารดามีอาการตึงคัดเต้านมและไม่ช่วยให้เกิดการระบายของน้ำนมออกจากเต้านม การขังของน้ำนมหากเป็นอยู่นาน อาจเกิดการอักเสบ โดยจะมีเชื้อโรคจะบริเวณผิวหนังของมารดาที่อาจแทรกซึมผ่านท่อน้ำนมเข้าไปในน้ำนมที่ขังและทำให้เกิดฝีที่เต้านมได้ เมื่อเกิดการอักเสบของเต้านมแล้ว หากคลำได้เป็นก้อน บวม แดง ร้อน และมารดามีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ซึ่งยาปฏิชีวนะจะครอบคลุมเชื้อโรคที่มาจากบริเวณผิวหนังซึ่งเป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่องของเต้านมของมารดา มีการศึกษาในการใช้ยากดการสร้างน้ำนมเพื่อช่วยในการลดการอักเสบของเต้านม1 อย่างไรก็ตาม การใช้ยากดการสร้างน้ำนมมีความเสี่ยงและอาจมีผลในการลดการสร้างน้ำนมที่มีผลต่อทารกได้ ดังนั้น หลักสำคัญคือ การดูแลรักษาอาการตึงคัดเต้านมให้เหมาะสมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ เต้านมอักเสบและฝีที่เต้านม จะเป็นการดีกว่า การปล่อยให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงติดตามการรักษา

เอกสารอ้างอิง

  1. Pustotina O. Management of mastitis and breast engorgement in breastfeeding women. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29:3121-5.