รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
วิธีที่ทารกประกบปากแนบสนิทกับเต้านมโดยอมหัวนมและลานนมเข้าไปในปาก เรียกว่า “การเข้าเต้า” หรือ “การคาบและอมหัวนมและลานนม” ของทารก ซึ่งการเข้าเต้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการป้องกันปัญหาในระยะเริ่มต้นที่นำไปสู่การหย่านมก่อนวัยอันควร
ทารกปกติที่คลอดครบกำหนดจะเกิดมาพร้อมกับมีพฤติกรรมและปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติหลายอย่าง รวมถึงปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติที่จะกระตุ้นให้ทารกอ้าปากและหันเข้าหาเต้านมเมื่อหิวที่เรียกว่า “รูทติ้งรีเฟล็กซ์ (rooting reflex)” การแตะเบา ๆ ที่ตรงกลางของริมฝีปากบนของทารกจะช่วยกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัตินี้ เมื่อมารดานำทารกเข้าเต้า มารดาควรจัดทิศทางหัวนมให้เล็งมุ่งไปที่เพดานปากของทารกขณะที่ทารกอ้าปากกว้าง เมื่อนั้นทารกจะยื่นลิ้นลงไปข้างหน้าเหนือเหงือกล่างเพื่อช่วยดึงหัวนมเข้าปาก จะทำให้เกิดการประกบปากแนบชิดกับเต้านม และอมหัวนมและลานนมอย่างเหมาะสม ทารกที่กำลังร้องไห้จำเป็นต้องมีการปลอบให้ทารกสงบลงก่อน เนื่องจากโดยปกติลิ้นจะยกขึ้นระหว่างร้องไห้แต่ขณะที่ทารกจะทำการเข้าเต้าและดูดนมแม่ ลิ้นของทารกจะต้องขยับลงและยื่นไปข้างหน้า และเมื่อทารกเข้าเต้าได้อย่างถูกต้องริมฝีปากของทารกที่ประกบกับเต้านมจะปลิ้นออกเหนือบริเวณลานนม 1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.