รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? เมื่อมารดาตั้งครรภ์ มารดาและครอบครัวจะมาฝากครรภ์ ซึ่งแพทย์ที่พบเจอก็จะเป็นสูติแพทย์ ซึ่งจะเป็นผู้ให้ความรู้ แนะนำการปฏิบัติตัวต่าง ๆ ของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอด และในช่วงระยะหลังคลอด โดยที่การให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรเริ่มตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่จะส่งผลต่อทัศนคติของมารดาและครอบครัวในการที่จะตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งบทบาทที่กล่าวมาแล้วนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นสูติแพทย์ที่เป็นผู้เริ่มต้นดูแลมารดาและครอบครัวในระยะฝากครรภ์ ดังนั้น ในการเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาควรให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แพทย์ที่จะจบไปเป็นสูติแพทย์ มีการศึกษาในสหรัฐอเมริการพบการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแพทย์ประจำบ้านทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยามีชั่วโมงการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าแพทย์ประจำบ้านทางกุมารเวชศาสตร์และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว1 ดังนั้น การสื่อสารจากสถาบันผลิตแพทย์ประจำบ้านและราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ที่บอกถึงบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนและปกป้องนมแม่ของสูตินรีแพทย์จะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ยังมีตัวเลขที่ต่ำอยู่ของประเทศไทยได้
เอกสารอ้างอิง
- Rodriguez Lien E, Shattuck K. Breastfeeding Education and Support Services Provided to Family Medicine and Obstetrics-Gynecology Residents. Breastfeed Med 2017.