รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การมีแนวทางปฏิบัติที่กำหนดต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่ในระยะคลอดและในระยะแรกหลังคลอดอาจรบกวนการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ ได้แก่ การให้งดน้ำงดอาหารนานเกินไป ทำให้มารดาอ่อนเพลีย หมดแรงที่จะให้การดูแลทารก การให้ยาแก้ปวดจนทำให้มารดาและทารกง่วงซึม การตัดฝีเย็บโดยไม่จำเป็น ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้น มารดาลุกนั่งลำบาก การขาดการให้กำลังใจหรือสนับสนุนจากสามีหรือคนใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยในการสนับสนุนให้มารดาให้นมลูกและช่วยดูแลมารดาและลูกในช่วงที่มารดาฟื้นตัวใหม่ๆ ในระยะหลังคลอด การแยกมารดาและทารกหลังคลอด การห่อทารกจนแน่นเกินไปหลังคลอด การให้น้ำเกลือ การติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจทารก และการทำหัตถการอื่นที่ไม่มีเหตุผลทางการแพทย์ ความวิตกกังวลเรื่องมารดาเหนื่อย1 มารดาไม่ต้องการอุ้มลูก ห้องคลอดยุ่ง ขาดบุคลากรที่จะเฝ้าดูแลมารดาและทารก สิ่งเหล่านี้ล้วนควรมีการปรับทัศนคติที่เหมาะสม และควรสร้างแนวทางการปฏิบัติที่เอื้อต่อการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งจะเป็นการสร้างการดูแลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2
เอกสารอ้างอิง
- Habib FA. Monitoring the practice and progress of initiation of breastfeeding within half an hour to one hour after birth, in the labor room of king khalid university hospital. J Family Community Med 2003;10:41-6.
- ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.