รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?น้ำหนักมารดาที่มากหรือมีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ในภาวะอ้วนส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดรวมทั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในระยะฝากครรภ์จะมีความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกตัวโตหรือมีน้ำหนักมากเกิน ที่ส่งผลต่อการคลอด ทำให้คลอดยาก ผ่าตัดคลอดสูงขึ้น การตกเลือดหลังคลอดสูงขึ้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่อาจมีผลต่อการเจ็บปวดของมารดา หรือมีผลต่อสติสัมปชัญญะของมารดา ทำให้มีผลต่อการเริ่มต้นการให้ลูกดูดนมช้า ซึ่งทำให้น้ำนมมาช้า เสี่ยงต่อการเกิดทารกตัวเหลืองจากทารกกินนมได้ไม่เพียงพอ หรือการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะพบว่าในมารดาที่มีภาวะอ้วนก่อนการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่าร้อยละ 281 ดังนั้น การสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ในเรื่องน้ำหนักของมารดาที่อยู่ในเกณฑ์ชองดัชนีมวลกายที่แสดงว่ามารดามีภาวะอ้วนที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การแนะนำการปฏิบัติตัวของมารดา ได้แก่ การควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายให้มีสุขภาพที่ดี จะลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สั้นกว่าที่ควรจะเป็นได้
เอกสารอ้างอิง
- Boudet-Berquier J, Salanave B, Desenclos JC, Castetbon K. Association between maternal prepregnancy obesity and breastfeeding duration: Data from a nationwide prospective birth cohort. Matern Child Nutr 2017.