รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ?ทารกที่มีภาวะลิ้นติด ได้แก่ ทารกที่มีพังผืดใต้ลิ้นยึดยาวมาที่ปลายลิ้นจนจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น ซึ่งหากความรุนแรงไม่มาก การกินนมแม่สามารถทำได้ ในกรณีที่แบ่งความรุนแรงของภาวะลิ้นติดตามเกณฑ์ของ Kotlow พบว่า ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงมีความเสี่ยงในการเข้าเต้าได้ไม่ดีมากกว่าทารกปกติ1 ซึ่งการให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วตั้งแต่เริ่มแรกหลังคลอดหรือเมื่อมารดาให้ทารกเข้าเต้าดูดนมแล้วมีอาการเจ็บหัวนม จะทำให้ลดปัญหาการหยุดให้นมก่อนระยะเวลาที่เหมาะสมลงได้2
??????????????? ในประเทศไทยมีการเก็บข้อมูลอุบัติการณ์ของภาวะลิ้นติด พบร้อยละ 13.4 ซึ่งพบเป็นภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงร้อยละ 7.2 ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ประดิษฐ์เครื่องมือ MED SWU Tongue-tie Director ที่ใช้วัดความรุนแรงของภาวะลิ้นติดตามเกณฑ์ของ Kotlow นำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดทุกรายที่คลอดที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และใช้ช่วยในการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นด้วย ซึ่งผลลัพธ์ในการใช้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และช่วยให้ทารกหลังการผ่าตัดแก้ไขปัญหาลิ้นติดเข้าเต้าดูดนมได้ดีขึ้น
เอกสารอ้างอิง
- Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
- Manipon C. Ankyloglossia and the Breastfeeding Infant: Assessment and Intervention. Adv Neonatal Care 2016;16:108-13.