ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf30

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จากการมีการหลั่งฮอร์โมนแห่งความรักหรือออกซิโตซินที่ให้มารดามีความผูกพันกับบุตร อย่างไรก็ตาม หากมารดามีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จะมีความวิตกกังวลเรื่องรูปร่างของมารดาที่เปลี่ยนแปลงไป และหยุดให้นมแม่ได้เร็ว1 ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ ควรสนับสนุนให้สามีและครอบครัวช่วยกันประคับประคองการเปลี่ยนแปลงที่มีมากมายของมารดาหลังคลอด อันจะทำให้มารดาผ่านประสบการณ์การคลอดและการเลี้ยงลูกหลังคลอดไปด้วยดี การเกิดวิกฤตการณ์ซึมเศร้าหลังคลอดลดลง การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วก็ลดลงด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Zanardo V, Volpe F, Giustardi A, Canella A, Straface G, Soldera G. Body image in breastfeeding women with depressive symptoms: a prospective study. J Matern Fetal Neonatal Med 2015:1-5.