รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นน้ำนมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทารกแรกเกิด ข้อสงสัยจึงเกิดขึ้นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมนุษย์นั้น ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ และขนาดของเต้านมตามพันธุกรรมมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกันไหม มีการศึกษาถึงเรื่องนี้ในออสเตรเลีย โดยทำการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่เป็นแฝดที่เกิดจากไข่ฟองเดียวกันกับมารดาที่เป็นแฝดที่เกิดจากไข่คนละฟองพบว่า การเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม และขนาดของเต้านมไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
? ? ? ? ? ? ? ? จะเห็นว่า แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่การเลือกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งแวดล้อมน่าจะมีอิทธิพลมากกว่าพันธุกรรม และมารดาที่มีพันธุกรรมที่มีขนาดเต้านมใหญ่ไม่ได้มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างจากมารดาที่มีเต้านมเล็ก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทางกายวิภาค ซึ่งบ่งชี้ว่า เต้านมขนาดใหญ่มีเพียงไขมันในเนื้อเยื่อของเต้านมมากกว่าเต้านมขนาดเล็ก โดยปริมาณของต่อมน้ำนมไม่ได้แตกต่างกัน ดังนั้น การโฆษณา การให้ข้อมูล และสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ จึงส่งผลต่อความเชื่อและทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัจจุบันจึงมีความจำเป็นต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับจากสื่อต่างๆ ซึ่งบางสื่อขาดข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุน นอกจากนี้ ควรมีการควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมกับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่จะเป็นกลไกที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Colodro-Conde L, Zhu G, Power RA, et al. A twin study of breastfeeding with a preliminary genome-wide association scan. Twin Res Hum Genet 2015;18:61-72.