ผู้ช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3958

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? แม้ว่าเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นเรื่องธรรมชาติ มารดามักมีสัญชาตญาณที่จะให้ลูกกินนมแม่ แต่หากมารดาเคยมีประสบการณ์ได้เห็นหรือได้ช่วยคนในครอบครัวที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาจะมีความมั่นใจที่จะให้นมลูกได้มากกว่าหรือนานกว่า ในปัจจุบันจึงไม่ปล่อยให้มารดาเลี้ยงลูกอย่างโดดเดี่ยวโดยขาดที่ปรึกษาหรือขาดการสนับสนุน เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่มารดาต้องเรียนรู้ด้วยตนเองลง ในการวางแผนที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการแนะนำที่พึ่งที่เป็นตัวบุคคลหรือเป็นสถานที่ที่จะให้คำปรึกษาหรือให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ที่พึ่งที่เป็นตัวบุคคล อาจได้แก่ แพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สามารถให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่เรื่องเบื้องต้นจนถึงปัญหาที่มีความซับซ้อน ในต่างประเทศจะมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่จะให้การสนับสนุนดูแลตั้งแต่การฝากครรภ์ การคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งพี่เลี้ยงจะมีความคุ้นเคยกับมารดา เข้าใจปัญหา และสามารถให้การสนับสนุนมารดาได้อย่างใกล้ชิด แต่ในประเทศไทยไม่มีบทบาทพี่เลี้ยงในระบบการสนับสนุนการดูแลการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บทบาทอีกบทบาทหนึ่งคือ มารดาอาสา ซึ่งเป็นกลุ่มมารดาที่มีจิตอาสาตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับมารดาคนใหม่หรือมารดาที่ขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาอาสาบางกลุ่มอาจมีการประสานงานกับโรงพยาบาลทำให้การแนะนำมารดาอาสาสามารถแนะนำให้มารดาคุ้นเคยได้ตั้งแต่ในระยะหลังคลอดขณะที่อยู่โรงพยาบาล ขณะที่บางโรงพยาบาลไม่มีเครือข่ายมารดาอาสา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน สื่อออนไลน์ได้เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้มารดาเข้าถึงกลุ่มมารดาอาสามากขึ้น โดยอาจเป็นกลุ่มมารดาอาสาผ่านเครือข่ายเฟสบุ๊ค หรือไลน์ ซึ่งทำให้มารดาขอคำปรึกษาจากมารดาอาสาที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้มากขึ้น

? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับที่พึ่งที่เป็นสถานที่ มารดาอาจติดต่อโรงพยาบาลที่เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ซึ่งจะมีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งที่เป็นระบบและเป็นตัวบุคคล หรืออาจที่สอบถามในโรงพยาบาลที่มีการจัดตั้งคลินิกนมแม่ก็จะมีการให้บริการในด้านคำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เช่นกัน1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017