ผลระยะยาวของโรคความดันโลหิตสูงที่ถูกชักนำจากการตั้งครรภ์ต่อมารดา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

           มารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษและโรคความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ เมื่อมารดาอายุมากขึ้น จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น โดยพบความเสี่ยงที่จะเกิดความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 5 เท่า และความเสี่ยงจากการมีโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า ยังไม่ทราบ สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของการเกิดความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน แต่มีการศึกษาพบว่าหลังจากเวลาผ่านไปหลายปี มารดามีโรคความดันโลหิตสูงที่ถูกชักนำโดยการตั้งครรภ์จะพบมีการหนาตัวของผนังหลอดเลือดทำให้เกิดการตีบแคบของเส้นเลือด  ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์จึงควรแนะนำให้มารดาลดปัจจัยเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้มีความเหมาะสม ได้แก่ การควบคุมน้ำหนักให้มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ งดอาหารที่มีเกลือในปริมาณที่มากหรือเค็มเกินไป เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย งดการสูบบุหรี่  ในมารดาที่อายุน้อยหรือยังมีความต้องการจะมีบุตร จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซ้ำในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปเพิ่มขึ้น การพิจารณาให้แอสไพรินแก่มารดาที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย จะเกิดประโยชน์โดยลดการเกิดโรคนี้ได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. ACOG Practice Bulletin No. 202: Gestational Hypertension and Preeclampsia. Obstet Gynecol 2019;133:e1-e25.