รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การทราบปัจจัยเสี่ยงในมารดาต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะทำให้การวางแผนการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
• การมีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานโดยเฉพาะญาติที่มีความใกล้ชิด (first-degree relatives)
• ประวัติการเสียชีวิตของทารกในช่วงแรกคลอด
• ประวัติคลอดทารกที่มีความพิการ
• ประวัติการคลอดทารกแรกเกิดตัวโต (macrosomia) ซึ่งหมายถึงทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักมากกว่า 4000 กรัม
• มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มอาการเมตาบอลิก กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ (polycystic ovarian syndrome)
• มารดาอายุมาก
• เชื้อชาติเอเชียนอเมริกัน
• อ้วน
• การมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์มากเกินไป
• การตรวจพบมีน้ำตาลในปัสสาวะ ตรวจพบค่า Hb A1c สูงตั้งแต่ร้อยละ 5.7 ขึ้นไป
• ตรวจพบค่า High-density lipoprotein cholesterol (HDL) ต่ำกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือค่าไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร(1,2)
เอกสารอ้างอิง
1. Gibson KS, Waters TP, Catalano PM. Maternal weight gain in women who develop gestational diabetes mellitus. Obstet Gynecol 2012;119:560-5.
2. Committee on Practice B-O. ACOG Practice Bulletin No. 190: Gestational Diabetes Mellitus. Obstet Gynecol 2018;131:e49-e64.