ปัจจัยที่มีผลต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอด

IMG_1470

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอดมีความสำคัญและช่วยเพิ่มอัตราและระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทั่วไป แนะนำให้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงหลังคลอด อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยจากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟในปี 2555 พบว่า การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดพบร้อยละ 43.6 ขณะที่อัตราการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดทั่วโลกพบร้อยละ 7.7-98.4 (เฉลี่ยร้อยละ 57.6)1 จะเห็นว่า อัตราการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกของประเทศไทยด้วย สำหรับปัจจัยที่พบว่าส่งผลทำให้การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เริ่มต้นได้ช้ากว่าในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ได้แก่ มารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการผ่าตัดคลอด1 โดยเฉพาะอัตราการผ่าตัดคลอดในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในโรงพยาบาลของภาครัฐพบราวร้อยละ 40 และในโรงพยาบาลเอกชนพบถึงราวร้อยละ 80 ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Takahashi K, Ganchimeg T, Ota E, et al. Prevalence of early initiation of breastfeeding and determinants of delayed initiation of breastfeeding: secondary analysis of the WHO Global Survey. Sci Rep 2017;7:44868.