ปัจจัยที่มีผลต่อการหยุดการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก

IMG_9368

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้จะมีข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลกว่า ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นให้อาหารเสริมตามวัยร่วมกับนมแม่จนถึงสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับมารดาและทารก แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้มารดาหยุดให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก โดยมีการศึกษาพบว่าปัจจัยทางด้านจิตใจและสังคมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการหยุดการให้ลูกกินนมแม่ ได้แก่ การให้อาหารเสริมแก่ทารกตั้งแต่ในระยะแรก การที่มารดารู้สึกว่าตนเองมีน้ำนมไม่พอ มารดาขาดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถให้ลูกกินนมแม่ต่อไปได้ มารดาที่อายุน้อย และมารดาที่มีการศึกษาต่ำ1

? ? ? ? ? ในประเทศไทยได้มีการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่า ในระยะแรกการที่มารดามีความรู้สึกว่าน้ำนมมีน้อยหรือน้ำนมไม่ไหลและปัจจัยเรื่องหัวนมเป็นสาเหตุที่พบบ่อย แต่เมื่อเริ่มเข้าในเดือนที่สามขึ้นไป พบว่า สาเหตุของการกลับไปทำงานของมารดาเป็นสาเหตุที่พบได้มากขึ้น2 ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการให้อาหารเสริมแก่ทารกตั้งแต่ในระยะแรก การช่วยให้มารดามีความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้ความรู้แก่มารดาเรื่องการประเมินความเพียงพอของน้ำนมและการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่กลับไปทำงานจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเพิ่มขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Karall D, Ndayisaba JP, Heichlinger A, et al. Breastfeeding Duration – Early Weaning: Do We Sufficiently Consider the Risk Factors? J Pediatr Gastroenterol Nutr 2015.
  2. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.