รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในด้านการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่มารดาอยู่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด จนกระทั่งมารดาและทารกได้กลับไปอยู่บ้านที่อยู่ในชุมชน มีการติดตามการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยอาจร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งประเด็นสำคัญคือ บุคลากรเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้และทัศนคติในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดหลักสูตรสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกได้แก่ หลักสูตรการอบรมผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมงควรได้รับการอบรมให้ครบถ้วนในบุคลากรของโรงพยาบาล เพื่อการให้คำปรึกษา คำแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปด้วยความเหมาะสม นอกเหนือจากนี้การจัดอบรมเพื่อปรับทัศนคติในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลักสูตรการอบรมนมแม่โดยใช้กระบวนการเป็นเกณฑ์ (process-oriented training in breastfeeding) ซึ่งจะมีการบรรยาย การฝึกประสบการณ์ การตอบสนองและการแก้ปัญหาต่างๆ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มีความสามารถมากขึ้นในการช่วยมารดาที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีขึ้น 1
เอกสารอ้างอิง
- Blixt I, Martensson LB, Ekstrom AC. Process-oriented training in breastfeeding for health professionals decreases women’s experiences of breastfeeding challenges. Int Breastfeed J 2014;9:15.