นมแม่ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมในมารดา

                รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

              มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรี และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ การที่มารดาให้ลูกกินนมแม่ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ มีคำอธิบายถึงกลไกที่ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม1  ดังนี้

  • เกิดจากการที่ขณะมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีการตกไข่ ทำให้ลดความโอกาสหรือระยะเวลาในการได้รับฮอร์โมนเพศของสตรีลง
  • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเต้านมที่พัฒนาไปสู่ระยะที่สมบูรณ์ในขณะที่ให้นมแม่
  • เกิดจากการลดการได้รับสารพิษจำพวก organochlorine ในระหว่างที่มารดาให้นมแม่
  • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกของ growth factor เบต้าที่มีผลในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง

                จากงานวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) พบว่า การให้ลูกนมกินนมแม่ช่วยลดมะเร็งเต้านมได้ โดยมารดาเคยให้ลูกกินนมแม่ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึงราวร้อยละ 10-15 ขณะที่มารดาที่ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ราวร้อยละ 28-501,2 ซึ่งระยะเวลาที่ให้นมลูกยิ่งนานยิ่งลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมมากขึ้น โดยบางรายงานพบว่าหากมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานมากกว่าหกเดือนจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้ดีกว่า3,4 อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่เคยให้นมลูกไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใดก็มีผลในการป้องกันมะเร็งเต้านมได้2 

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhou Y, Chen J, Li Q, Huang W, Lan H, Jiang H. Association between breastfeeding and breast cancer risk: evidence from a meta-analysis. Breastfeed Med 2015;10:175-82.
  2. Unar-Munguia M, Torres-Mejia G, Colchero MA, Gonzalez de Cosio T. Breastfeeding Mode and Risk of Breast Cancer: A Dose-Response Meta-Analysis. J Hum Lact 2017;33:422-34.
  3. Gonzalez-Jimenez E, Garcia PA, Aguilar MJ, Padilla CA, Alvarez J. Breastfeeding and the prevention of breast cancer: a retrospective review of clinical histories. J Clin Nurs 2014;23:2397-403.
  4. Nagata C, Mizoue T, Tanaka K, et al. Breastfeeding and breast cancer risk: an evaluation based on a systematic review of epidemiologic evidence among the Japanese population. Jpn J Clin Oncol 2012;42:124-30.