รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ท่าอุ้มลูกอีกท่าหนึ่งที่มีการอ้างว่าช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของทารกได้ดี คือ ท่าเอนหลัง (laid-back hold) ท่านี้จะจัดท่าให้มารดาเอนหลังพิงพนักหรือหมอนหนุนที่จะทำให้มารดารู้สึกสบายขณะที่ให้นมลูก ส่วนการจัดท่าทารกนั้น จัดให้ทารกลำตัวแนบชิดกับมารดาโดยจะอยู่ในแนวตั้ง แนวเอียง หรือแนวขวาง แล้วแต่ความสะดวกของมารดาและทารก โดยหากเป็นการให้นมหลังผ่าตัดคลอด จะเลี่ยงตำแหน่งที่วางทารกไม่ให้ทับแผลผ่าตัดคลอด ซึ่งการที่ทารกได้สัมผัสกับมารดาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาน่าจะช่วยกระตุ้นกลไกการตอบสนองพื้นฐาน (reflex) และพัฒนาการ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเปรียบเทียบการเข้าเต้าและความพึงพอใจของมารดาที่ผ่าตัดคลอดในการให้นมลูกในท่าเอนหลังและท่านอนตะแคง พบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเข้าเต้าแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ในส่วนความพึงพอใจของมารดาพบว่ามารดาที่ให้นมลูกในท่านอนตะแคง มารดาจะรู้สึกสบายกว่าเมื่อให้เป็นเวลานาน ดังนั้น การที่จะเลือกใช้ท่าใดท่าหนึ่งในการให้นมลูกนั้น ยังคงขึ้นอยู่กับการที่มารดาให้นมลูกแล้ว ทารกอมหัวนมและลานนมได้ดี ร่วมกับมารดารู้สึกสบาย และให้นมลูกได้นาน ซึ่งหากจัดท่าให้ลูกได้มีการสัมผัสผิวกับมารดาในระหว่างที่ให้นมลูกด้วย ท่าในการให้นมลูกนั้น ก็น่าจะช่วยกระตุ้นกลไกการตอบสนองพื้นฐานของทารกและกระตุ้นพัฒนาการของทารกเช่นกัน1
เอกสารอ้างอิง
- Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Laosooksathit W, Hanprasertpong T, Ketsuwan S. Comparison of Breastfeeding Outcomes Between Using the Laid-Back and Side-Lying Breastfeeding Positions in Mothers Delivering by Cesarean Section: A Randomized Controlled Trial. Breastfeed Med 2017;12:233-7.