รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ? นอกจากปัญหาเรื่องการเจ็บหัวนมขณะทารกดูดนมแล้ว ปัญหาที่มารดามีความกังวลคือ กลัวว่าเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นจะพูดไม่ชัด การพูดไม่ชัดอาจพบได้ในทารกที่มีภาวะลิ้นติด แต่ก็เป็นในบางคำหรือในบางตัวอักษรที่ออกเสียงยากในภาษาอังกฤษ เช่น ตัวอักษร L, R, S, Z, CH, TH ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดคนใดจะออกเสียงไม่ชัดเมื่อเจริญเติบโตขึ้น เนื่องจากขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะลิ้นติด ความตึงของพังผืดใต้ลิ้น และการยึดหยุ่นของพังผืดใต้ลิ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ภาวะลิ้นติดนี้ไม่ได้มีผลทำให้พัฒนาการในการพูดของทารกช้า ดังนั้น หากมารดาให้นมแม่จากการป้อนจากถ้วย เมื่อทารกโตขึ้นแล้วจึงฝึกดูดนมจากเต้า และมารดาไม่กังวลว่าลูกจะพูดไม่ชัดในบางคำหรือบางตัวอักษร ยอมรับได้ การผ่าตัดก็ไม่มีความจำเป็น แต่หากมารดามีความกังวลเรื่องลูกจะพูดไม่ชัดที่แม้ว่าจะไม่ได้เกิดทุกราย แต่มารดายอมรับไม่ได้หากทารกเกิดพูดไม่ชัดในบางคำหรือบางตัวอักษร แม้ว่าการผ่าตัดเมื่อทารกโตขึ้นในวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่สามารถทำได้ แต่การขั้นตอนจะยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการผ่าตัดในระยะแรกหลังคลอดใหม่ ๆ คำแนะนำสำหรับมารดาเหล่านี้ที่มีความวิตกกังวลมากคือ แนะนำให้ทำการผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่ในระยะแรกเลย เพราะจะทำให้ลดทั้งการเจ็บหัวนมและความวิตกกังวลเรื่องการพูดของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น เพิ่มความมั่นใจในการที่มารดาสามารถให้นมลูกจากเต้าได้ ซึ่งอาจจะเสริมพลังให้กับมารดาที่ส่งผลดีต่อระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
- Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.