ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานแค่ไหน จึงลดความเสี่ยงที่ลูกจะอ้วนได้

img_2095

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? เป็นที่ทราบกันดีว่า การให้ลูกกินนมแม่จะช่วยให้ลูกลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วนเมื่อเจริญเติบโตขึ้น เนื่องจากลักษณะของการกินนมแม่จะช่วยสร้างนิสัยการกินนมแม่เมื่อทารกมีอาการหิว และทารกสามารถมีส่วนร่วมในการควบคุมการดูดและการกินนมด้วยตนเอง ซึ่งจะสร้างลักษณะที่เหมาะสมในการกินอาหาร ซึ่งจะแตกต่างจากการป้อนนมผงดัดแปลงสำหรับทารกทุกครั้งที่ทารกร้อง แต่ต้องฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับลักษณะการกินนมแม่นานแค่ไหน มีการศึกษาพบว่า หากให้ลูกได้กินนมแม่นานอย่างน้อย 4 เดือนจะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะอ้วนเมื่อทารกอายุ 4 ขวบได้ประมาณร้อยละ 50 หรือลดได้ถึงครึ่งหนึ่งของความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วน1 อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น การแนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังคงเน้นให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้น ให้อาหารเสริมตามวัยร่วมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Wallby T, Lagerberg D, Magnusson M. Relationship Between Breastfeeding and Early Childhood Obesity: Results of a Prospective Longitudinal Study from Birth to 4 Years. Breastfeed Med 2017;12:48-53.