รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การศึกษาผลของการให้นมน้ำเหลืองในทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก (น้ำหนัก 1,000 กรัมถึง 1,500 กรัม) ต่อภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสเลือดระยะท้าย (Clinical outcomes of early oropharyngeal colostrum in VLBW in preventing late onset neonatal sepsis) โดยนลินี ยมศรีเคน โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นวิจัยที่ศึกษาผลของการได้รับนมน้ำเหลืองในระยะแรกหลังคลอด ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยมากกับการเกิด late onset neonatal sepsis (L-OS) และ NEC โดยวิธีหยอดน้ำนมเหลืองใส่กระพุ้งแก้มทารกครั้งแรกใน 24 ชั่วโมง ครั้งต่อไปห่างกันทุก 3 ชั่วโมง? รวมแล้วให้ได้รับอย่างน้อย 16 ครั้งภายใน 72 ชั่วโมงแรกของชีวิตในกลุ่มตัวอย่าง 21 ราย เทียบกับกลุ่มควบคุมคือ ทารกไม่ได้รับนมแม่ตาม protocol 14 ราย? พบว่า อัตราการเกิดการ L-OS และการเกิด NEC ของกลุ่มตัวอย่าง คือร้อยละ 28.6 และ 4.8 ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุมคือร้อยละ 64.3 และ 28.6? อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ?สรุปว่า การให้นมน้ำเหลืองในระยะแรกหลังคลอดกับทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากช่วยลดการติดเชื้อในกระแสเลือดสูงและภาวะ NEC ลงได้
ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์