รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ?ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (Attitude towards exclusive breastfeeding among Thai mothers in a tertiary hospital) โดยดวงพร ไมตรีจิตรและคณะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นงานวิจัยที่ศึกษาทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือมารดาหลังคลอดบุตรในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 496 คน? เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทัศนคติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ทีมผู้วิจัยสร้างขึ้น? ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีอายุระหว่าง 26-34.5 ปี (อายุเฉลี่ย 31 ปี) มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 10 คน (ร้อยละ 2) ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจนครบ 6 เดือน แต่มีกลุ่มตัวอย่างอีก 146 คน (ร้อยละ 29.4 ) เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่เป็นหลักแต่เพิ่มน้ำเปล่าบางมื้อ ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติ โดยรวม เท่ากับ 4.18?0.89 เมื่อจัดกลุ่มพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เชิงบวก มีจำนวน 405 คน (ร้อยละ 81.34)? เชิงลบ 26 คน(ร้อยละ 5.31) และทัศนคติแบบกลาง 66 คน (ร้อยละ 13.36)? โดยทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนในด้านลบมากที่สุด คือ การเลี้ยงบุตรด้วยนมผสมสะดวกรวดเร็ว (ร้อยละ 20.68) สำหรับทัศนคติเกี่ยวกับความพอเพียงของน้ำนม ความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ครบ 6 เดือน? การเป็นอุปสรรคในการทำงาน และระยะเวลาการให้นมนานถึง 2 ปี? กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกไม่แน่ใจ ร้อยละ 51.61, 23.47, 20.93 และ 17.1 ตามลำดับ? ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้ผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้นจึงควรนำประเด็นปัญหาเหล่านี้พัฒนาต่อยอดเพื่อส่งเสริมให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จต่อไป
ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์