ความเครียดในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดส่งผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                     กลไกในการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งจะสร้างจากสมองในส่วนไฮโปธาลามัสที่มีเปลี่ยนแปลงการตอบสนองต่อความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อมารดามีความเครียดจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่จะตอบสนองต่อความเครียดรวมทั้งออกซิโตซิน โดยมีการพบว่า สตรีที่มีความเครียดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะน้ำนมมาช้า ซึ่งการที่น้ำนมมาช้าจะสัมพันธ์การการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 และยังพบว่าการที่มารดามีความเครียดในระหว่างการคลอดจะมีผลลบต่อการเข้าเต้า พฤติกรรมการดูดนมของทารก และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย2 ดังนั้น กระบวนการที่ให้คำปรึกษาโดยเตรียมมารดาให้มีความพร้อมในการที่คลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยลดความเครียดของมารดา ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปในตัวด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhu P, Hao J, Jiang X, Huang K, Tao F. New insight into onset of lactation: mediating the negative effect of multiple perinatal biopsychosocial stress on breastfeeding duration. Breastfeed Med 2013;8:151-8.
  2. Karakoyunlu O, Ejder Apay S, Gurol A. The effect of pain, stress, and cortisol during labor on breastfeeding success. Dev Psychobiol 2019.