ความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__46162106

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในการดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นบทบาทส่วนที่สำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ อุปสรรคที่พบในการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์1,2 ได้แก่ การขาดทักษะและมีเวลาน้อยที่ให้กับการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงเหตุผลในการหยุดการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า จากการที่บุคลากรมีเวลาน้อย ขาดทักษะ และให้ข้อมูลได้น้อยนำไปสู่ความไม่มั่นใจว่าจะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและติดตามดูแลมารดาและบุตรได้ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่3 เมื่อไม่มีความมั่นใจก็อาจจะวนไปสู่วงจรของการไม่ให้เวลา หรือให้ข้อมูลน้อย ดังนั้น การสร้างทักษะและความมั่นใจในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรอาจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างผู้นำที่ควรจะมีบทบาทนำในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Taveras EM, Li R, Grummer-Strawn L, et al. Opinions and practices of clinicians associated with continuation of exclusive breastfeeding. Pediatrics 2004;113:e283-90.
  2. Schanler RJ, O’Connor KG, Lawrence RA. Pediatricians’ practices and attitudes regarding breastfeeding promotion. Pediatrics 1999;103:E35.
  3. Garner CD, Ratcliff SL, Thornburg LL, Wethington E, Howard CR, Rasmussen KM. Discontinuity of Breastfeeding Care: “There’s No Captain of the Ship”. Breastfeed Med 2016;11:32-9.