รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
บุคลากรทางการแพทย์นับเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างไรก็ตาม บุคลากรทำหน้าที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปัจจุบันยังขาดความรู้ที่เพียงพอที่จะให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่งผลให้ขาดความมั่นใจ และนำไปสู่การปฏิเสธหรือไม่มีความยินดีที่จะให้คำปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้ว่าการจัดหลักสูตรหรือการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยยนมแม่ได้1 ประเทศไทยในปัจจุบันมีหลักสูตรเฉพาะทางเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นหลักสูตร 4 เดือนของพยาบาล แต่สถาบันที่ทำหน้าที่จัดหลักสูตรหรืออบรมพัฒนาความรู้เรื่องนมแม่ยังมีจำกัด ขณะที่มีบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจเกี่ยวกับการอบรมหรือพัฒนาตนเองในเรื่องนี้มีจำนวนมากในแต่ละปี จึงสมควรมีนโยบายในการสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้เกิดกระบวนการที่จะช่วยสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ และมีความมั่นใจที่จะช่วยให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บรรลุตามเป้าหมายตามที่องค์การอนามัยโลกได้ตั้งเป้าหมายไว้คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประชากรของทั่วโลก ควรมีอัตราร้อยละ 50
เอกสารอ้างอิง
- Yang SF, Salamonson Y, Burns E, Schmied V. Breastfeeding knowledge and attitudes of health professional students: a systematic review. Int Breastfeed J 2018;13:8.