รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ในมารดาที่รับประทานมังสวิรัติ มักจะมีความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี เนื่องจากวิตามินบีมีในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์สูง มีในผักผลไม้ต่ำ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการรับประทานอาหารที่เป็นโปรตีนไม่เพียงพอ รวมทั้งแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก แคลเซียม และสังกะสี ซึ่งชนิดของการรับประทานอาหารมังสวิรัติในแต่ละแบบ จะมีความเสี่ยงในการขาดสารอาหารที่แตกต่างกัน
- มารดางดรับประทานเนื้อแดง (semivegetarian) จะมีความเสี่ยงในการขาดแร่ธาตุต่างๆ
- มารดาที่งดรับประทานเนื้อ สัตว์ปีก และอาหารทะเล (ovolactovegetarian) จะมีความเสี่ยงในการขาดแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะสังกะสี
- มารดาที่งดรับประทานเนื้อ สัตว์ปีก อาหารทะเล และไข่ (lactovegetarian) จะมีความเสี่ยงในการขาดแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะสังกะสี และมีความเสี่ยงในการขาดโปรตีน
- มารดาที่งดรับประทานเนื้อ สัตว์ปีก อาหารทะเล และนม (ovovegetarien) จะมีความเสี่ยงในการขาดแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะสังกะสี แคลเซียม เหล็ก มีความเสี่ยงในการขาดวิตามินบีสอง วิตามินบีสิบสอง วิตามินดี และมีความเสี่ยงในการขาดโปรตีน
- มารดาที่งดรับประทานเนื้อ สัตว์ปีก อาหารทะเล นม และไข่ (vegan) มารดาจะรับประทานอาหารเฉพาะผัก จะมีความเสี่ยงในการขาดแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะสังกะสี แคลเซียม เหล็ก มีความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี โดยเฉพาะวิตามินบีสอง วิตามินบีสิบสอง วิตามินดี และมีความเสี่ยงในการขาดโปรตีน
- มารดาที่รับประทานเฉพาะธัญพืช (macrobiotic) มารดาจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทั้งในส่วนของทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีน
??????????? จะเห็นว่า ความเสี่ยงในมารดาที่รับประทานอาหารในแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน ในผู้ที่มีความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี จำเป็นต้องเสริมวิตามินบีให้กับมารดาโดยเฉพาะวิตามินบีสิบสอง ในผู้ที่มีความเสี่ยงในการขาดโปรตีน จำเป็นต้องรับประทานโปรตีนที่สกัดหรือสังเคราะห์จากพืช เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่เพียงพอ ในผู้ที่มีความเสี่ยงในการขาดแร่ธาตุ จำเป็นต้องเสริมแร่ธาตุโดยเฉพาะธาตุเหล็ก สังกะสี และแคลเซียม อย่างไรก็ตาม หากมารดาไม่สามารถรับประทานอาหาร วิตามินหรือแร่ธาตุเสริมได้อย่างเพียงพอ อาจมีความจำเป็นต้องเสริมสารอาหารในส่วนที่ขาดให้กับทารกโดยตรงเพิ่มเติมด้วย1
เอกสารอ้างอิง
- ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.