ข้อควรระวังในมารดาที่มีหมู่เลือดเป็นลบ

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ในมารดาที่ตั้งครรภ์จะมีการตรวจหมู่เลือด โดยปกติที่ผู้คนคุ้นเคยจะเป็นหมู่เลือดเอ บี โอ แต่ยังมีหมู่เลือดอีกกลุ่มหนึ่งที่ทางการแพทย์จำเป็นตรวจคือหมู่เลือดอาร์เอช (Rh) ซึ่งจะแบ่งเป็นหมู่เลือดอาร์เอชบวก และอาร์เอชลบ ในการให้เลือดจำเป็นต้องคำนึงถึงหมู่เลือดหลักสองหมู่เลือดนี้ที่จำเป็นจะต้องเข้ากันได้ หมู่เลือดอาร์เอชลบจะเป็นหมู่เลือดที่พบได้น้อยโดยในประเทศไทยจะพบเพียงร้อยละ 1 ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการที่ไม่สามารถหาเลือดที่เหมาะสมมาให้ในผู้ป่วยได้

? ? ? ? ? ? ?สำหรับในมารดาที่ตั้งครรภ์ หากมีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชลบร่วมกับมีสามีมีหมู่เลือดอาร์เอชบวก จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดทารกมีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชบวก ซึ่งจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันมารดา และจะเกิดอันตรายเมื่อมารดาตั้งครรภ์ซ้ำในลูกคนที่สอง โดยภูมิคุ้มกันของมารดาจะมองทารกเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ต้องทำลาย ทารกจะเกิดอาการตัวเหลือง ตัวบวมน้ำและเสียชีวิตได้ ดังนั้นในการป้องกันจึงมีการแนะนำให้ภูมิคุ้มกันต่อสารหมู่เลือดอาร์เอชเพื่อไปป้องกันการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของมารดาที่มีหมู่เลือดอาร์เอชตั้งแต่ในระยะการตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยมีการศึกษาการให้ภูมิคุ้มกันหมู่เลือดอาร์เอชกับมารดาในระหว่างมารดาอายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ ผลการให้จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่ออาร์เอชของมารดาจากร้อยละ 13 เหลือเพียงร้อยละ 11 ตัวอย่างเหล่านี้ แสดงถึงประโยชน์ในการฝากครรภ์ที่บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใส่ใจกับผลการตรวจหมู่เลือดของมารดา เพื่อวางแผนการดูแลครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Tiblad E, Westgren M, Pasupathy D, Karlsson A, Wikman AT. Consequences of being Rhesus D immunized during pregnancy and how to optimize new prevention strategies. Acta Obstet Gynecol Scand 2013;92:1079-85.