รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? คนในครอบครัวที่อยู่ด้วยกันจะมีส่วนร่วมในบทบาทของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด ซึ่งบางคนอาจทำหน้าช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขณะที่บางคนอาจมีทัศนคติที่ไม่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้ตนเองเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่า การให้ความรู้แก่คนในครอบครัวเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงขึ้น1 ซึ่งเหตุผลของการเพิ่มของอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอาจจะเกิดจากการที่มารดาและครอบครัวได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทิศทางเดียวกันทั้งครอบครัว ซึ่งหากครอบครัวมีความเห็นหรือทัศนคติในทิศทางเดียวกัน แนวทางการปฏิบัติของมารดาในระยะหลังคลอดก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ปราศจากข้อขัดแย้งที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ?ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ความให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และทัศนคติของคนในครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อช่วยให้เกิดการสนับสนุนของคนในครอบครัวที่มีความใกล้ชิดที่จะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้
เอกสารอ้างอิง
- Ke J, Ouyang YQ, Redding SR. Family-Centered Breastfeeding Education to Promote Primiparas’ Exclusive Breastfeeding in China. J Hum Lact 2018;34:365-78.