การให้การวินิจฉัยการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจริมฝีปาก ปาก และช่องปากของทารก การตรวจพบปากแหว่งเพดานโหว่ การมีเพดานปากสูง ลิ้นใหญ่คับปาก และการมีภาวะลิ้นติด ทำให้ทารกเข้าเต้ายากและทำให้เกิดการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสมได้ โดยในทารกมีภาวะลิ้นติด ทารกจะยื่นลิ้นออกไปได้น้อย เหงือกด้านล่างจึงกดและเสียดสีกับหัวนมมากกว่า จึงทำให้มารดาเจ็บหัวนม3-6 นอกจากนี้ การที่ทารกมีคอเอียงจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อยังพบว่าทำให้การจัดท่าที่เหมาะสมในการให้นม จะทำได้ยากขึ้น สำหรับการพบทารกมีฝ้าขาวที่ลิ้นจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อราที่หัวนมมารดา

เอกสารอ้างอิง

3.         Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

4.         Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

5.         Chaubal TV, Dixit MB. Ankyloglossia and its management. J Indian Soc Periodontol 2011;15:270-2.

6.         Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.