รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การสอนให้แม่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถมีทักษะที่จะปฏิบัติการให้นมลูกได้นั้น การจัดรูปแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อผลลัพธ์ของการเรียนการสอน โดยมีการศึกษาในสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ลูกที่มีภาวะปากแหว่งเพดาโหว่ ซึ่งจะมีความยากลำบากที่จะให้นมแม่โดยใช้สื่อที่มีทั้งภาพและเสียงเปรียบเทียบกับการจัดรูปแบบการบรรยายตามปกติพบว่า มารดาที่ได้รับการสอนโดยสื่อที่มีทั้งภาพและเสียงสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับผลลัพธ์การเจริญเติบโตของทารก1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญกับการเลือกรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
1. Murthy PS, Deshmukh S, Murthy S. Assisted breastfeeding technique to improve knowledge, attitude, and practices of mothers with cleft lip- and palate-affected infants: A randomized trial. Spec Care Dentist 2020;40:273-9.