การใช้ยาแก้ปวดและยาระงับความรู้สึกมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

               การใช้ยาแก้ปวดรวมถึงยาระงับความรู้สึก แม้ว่าจะสามารถช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้ แต่จะพบผลเสียที่เกิดกับทารกในการเริ่มต้นการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ มีการศึกษาพบว่า ในระหว่างการคลอด การที่มารดาได้รับการให้การระงับความรู้สึกด้วยวิธี epidural anesthesia มีความเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นเป็น 1.26 เท่า1 มีผลต่อการให้นมลูกของมารดาในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอดและมีโอกาสที่มารดาจะหยุดการให้นมแม่ใน 24 สัปดาห์แรกสูงกว่า2 ขณะที่การให้ยาแก้ปวดเชื่อว่ามีผลต่อพฤติกรรมทารกในการดูดนม3 โดยทำให้ทารกง่วงซึม เริ่มการดูดนมได้ช้า นอกจากนี้ วิธีระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัดคลอดยังมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมารดาที่ใช้วิธีระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัดคลอดโดยการดมสลบ (general anesthesia) จะเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้ากว่ามารดาที่ใช้วิธีระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง (spinal anesthesia)4 ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดที่ไม่เหมาะสม และควรใช้วิธีการลดความเจ็บปวดจากวิธีทางเลือกอื่น ๆ ก่อนการเลือกที่จะใช้วิธีลดความเจ็บปวดโดยใช้ยา

เอกสารอ้างอิง

  1. Dozier AM, Howard CR, Brownell EA, et al. Labor Epidural Anesthesia, Obstetric Factors and Breastfeeding Cessation. Matern Child Health J 2012.
  2. Torvaldsen S, Roberts CL, Simpson JM, Thompson JF, Ellwood DA. Intrapartum epidural analgesia and breastfeeding: a prospective cohort study. Int Breastfeed J 2006;1:24.
  3. Szabo AL. Review article: Intrapartum neuraxial analgesia and breastfeeding outcomes: limitations of current knowledge. Anesth Analg 2013;116:399-405.
  4. Kocaoz FS, Destegul D, Kocaoz S. Comparison of the breastfeeding outcomes and self-efficacy in the early postpartum period of women who had given birth by cesarean under general or spinal anesthesia. J Matern Fetal Neonatal Med 2019:1-5.