รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?-หากมารดาต้องใช้ยา ควรแจ้งแพทย์ว่าให้นมลูกอยู่ โดยปกติแพทย์จะสามารถจะเลือกใช้ยาที่มีความปลอดภัยในการใช้ระหว่างการให้นมลูกได้ ยาส่วนใหญ่จะผ่านน้ำนมน้อยและมีผลต่อทารกน้อย ดังนั้นการหยุดให้นมแม่อาจจะมีอันตรายต่อทารกมากกว่าการใช้ยา
-ยาที่มารดาใช้มักมีผลต่อทารกที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่หรือทารกที่อายุอ่อนกว่า 2 เดือนมากกว่าทารกที่อายุแก่กว่า ดังนั้นในการรักษามารดาควรเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
-หากมารดาต้องใช้ยาและบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มั่นใจ ควรปฏิบัติดังนี้
- กระตุ้นให้มารดายังคงให้นมแม่ไปก่อน ขณะที่หาข้อมูลเพิ่มเติม
- สังเกตอาการข้างเคียงในทารก ได้แก่ ง่วงนอนผิดปกติ ไม่อยากกินนมแม่ ตัวเหลือง โดยเฉพาะหากมารดาจำเป็นต้องใช้ยาเป็นช่วงเวลานาน
- ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการใช้ยาระหว่างให้นมลูกจากรายการยาขององค์กรอนามัยโลกหรือฐานข้อมูลอื่นที่เชื่อถือได้
- สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่หรือเภสัชกร ซึ่งจะทำให้พบทางเลือกในการรักษาที่ปลอดภัยในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- หากทารกได้รับอาการข้างเคียงของยาและยาของมารดาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ การพิจารณาการป้อนนมผสมด้วยถ้วยชั่วคราว อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง
-การใช้ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพรหรือวิธีการรักษาอื่นๆ อาจจะมีผลข้างเคียงกับทารก ควรจะหาข้อมูลรายละเอียดของการรักษาโดยเฉพาะที่ใช้บ่อยในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งการกระตุ้นให้มารดาคงการให้นมแม่ไปก่อนและสังเกตอาการข้างเคียงที่เกิดในทารกยังเป็นสิ่งที่จำเป็น
หนังสืออ้างอิง
- WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009