รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ในการศึกษาในทารกทั่วไปที่คลอดครบกำหนดและไม่มีภาวะแทรกซ้อน การใช้จุกนมหลอกในช่วงแรกหลังคลอดจะสัมพันธ์กับการหยุดนมแม่ก่อนเวลาอันควร1-3 เนื่องจากการดูดหัวนมหลอกเมื่อทารกดูดแล้วไม่ได้น้ำนม ทำให้ทารกอาจสับสนกับการดูดนมแม่ เกิดการปฏิเสธและหยุดการกินนมแม่ก่อนกำหนดได้ แต่การใช้จุกนมหลอกหลังจากช่วงหนึ่งเดือนหรือในมารดาที่น้ำนมมาได้ดีแล้ว ไม่พบความแตกต่างของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วการใช้จุกนมหลอกเกิดผลเสีย แต่มีการศึกษาในกลุ่มที่จำเพาะ ได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด และมารดาที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าพบว่าอาจมีประโยชน์ โดยการใช้จุกนมหลอกอาจช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดและและอาจช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรในมารดาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า4
เอกสารอ้างอิง
- Kair LR, Jaffe AC, Phillipi CA. In healthy term infants, does restriction from pacifiers in the first two to four weeks of life increase breastfeeding duration? Paediatr Child Health 2013;18:473-4.
- Chang PC, Li SF, Yang HY, et al. Factors associated with cessation of exclusive breastfeeding at 1 and 2 months postpartum in Taiwan. Int Breastfeed J 2019;14:18.
- Silva V, Caminha MFC, Silva SL, Serva V, Azevedo P, Filho MB. Maternal breastfeeding: indicators and factors associated with exclusive breastfeeding in a subnormal urban cluster assisted by the Family Health Strategy. J Pediatr (Rio J) 2019;95:298-305.
- Sipsma HL, Kornfeind K, Kair LR. Pacifiers and Exclusive Breastfeeding: Does Risk for Postpartum Depression Modify the Association? J Hum Lact 2017;33:692-700.