รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย อัตราการตั้งครรภ์ของมารดาในวัยรุ่นในประเทศไทยพบร้อยละ 14.81? โดยระหว่างการตั้งครรภ์มารดาวัยรุ่นมักมีความเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อย หลังคลอดการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มนี้ มีความจำเป็น จากที่มีการศึกษาพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มมารดาวัยรุ่นต่ำ2 ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดการที่มารดามีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ทำให้มีโอกาสที่ทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอทารกป่วยวิกฤตสูงกว่า ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้การดูแลควรมีการเตรียมการ แนะนำ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในกรณีที่การคลอดอาจมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความลำบาก อย่างไรก็ตาม การเตรียมการที่ดีตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ เอาใจใส่ให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวเกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น่าจะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นได้
เอกสารอ้างอิง
- Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.
- Edwards R, Peterson WE, Noel-Weiss J, Shearer Fortier C. Factors Influencing the Breastfeeding Practices of Young Mothers Living in a Maternity Shelter. J Hum Lact 2017:890334416681496.