การเจ็บหัวนมและเต้านมทำให้มารดาหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                   การเจ็บหัวนมจะพบได้ในมารดาที่เริ่มให้นมลูกใหม่ ๆ แต่อาการจะดีขึ้นและหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์ หากมีอาการเกิน 1 สัปดาห์ ควรตรวจหาความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บหัวนม มีการศึกษาพบว่า การไม่มีอาการเจ็บหัวนมจะสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 ขณะที่การเจ็บหัวนมจะมีผลต่อการสร้างน้ำนมที่ลดลง2     มารดาที่มีอาการเจ็บเต้านมจะสัมพันธ์กับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก3-5 และมีความสัมพันธ์กับการเริ่มการใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกหรือขวดนมมากขึ้น6 แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว7,8 สาเหตุของการเจ็บหัวนมมักเกิดจากการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม การจัดที่ให้นมลูกที่ไม่ถูกต้อง ทารกมีภาวะลิ้นติด และความผิดปกติในการดูดนมของทารก9 ซึ่งการให้ความรู้ สอนให้มารดาปฏิบัติ และการสังเกตมารดาขณะให้นมลูกจะช่วยบอกถึงสาเหตุ ลดความกลัวและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บหัวนมและเต้านมได้10 นอกจากนี้ การที่มารดามีหัวนมแตกและเต้านมอักเสบยังเป็นผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย11

เอกสารอ้างอิง

  1. Hegazi MA, Allebdi M, Almohammadi M, Alnafie A, Al-Hazmi L, Alyoubi S. Factors associated with exclusive breastfeeding in relation to knowledge, attitude and practice of breastfeeding mothers in Rabigh community, Western Saudi Arabia. World J Pediatr 2019.
  2. McClellan HL, Hepworth AR, Kent JC, et al. Breastfeeding frequency, milk volume, and duration in mother-infant dyads with persistent nipple pain. Breastfeed Med 2012;7:275-81.
  3. Kvist LJ, Larsson BW, Hall-Lord ML. A grounded theory study of Swedish women’s experiences of inflammatory symptoms of the breast during breast feeding. Midwifery 2006;22:137-46.
  4. Walker M. Conquering common breast-feeding problems. J Perinat Neonatal Nurs 2008;22:267-74.
  5. McClellan HL, Hepworth AR, Garbin CP, et al. Nipple pain during breastfeeding with or without visible trauma. J Hum Lact 2012;28:511-21.
  6. Indraccolo U, Bracalente M, Di Iorio R, Indraccolo SR. Pain and breastfeeding: a prospective observational study. Clin Exp Obstet Gynecol 2012;39:454-7.
  7. Hector D, King L, Webb K, Heywood P. Factors affecting breastfeeding practices: applying a conceptual framework. N S W Public Health Bull 2005;16:52-5.
  8. DiGirolamo A, Thompson N, Martorell R, Fein S, Grummer-Strawn L. Intention or experience? Predictors of continued breastfeeding. Health Educ Behav 2005;32:208-26.
  9. Tait P. Nipple pain in breastfeeding women: causes, treatment, and prevention strategies. J Midwifery Womens Health 2000;45:212-5.
  10. Thorley V. Latch and the fear response: overcoming an obstacle to successful breastfeeding. Breastfeed Rev 2005;13:9-11.
  11. Colombo L, Crippa BL, Consonni D, et al. Breastfeeding Determinants in Healthy Term Newborns. Nutrients 2018;10.