รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? กฎหมายเกี่ยวกับการลาพักหลังคลอดและเปิดโอกาสให้มารดาได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยมีการจ่ายเงินชดเชยในระหว่างการลาพัก ในหลายประเทศใช้นโยบายนี้เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการช่วยสนับสนุนการให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน? ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มสมาชิกของสหประชาชาติ 193 ประเทศ มีประเทศที่มีการใช้นโยบายนี้ร้อยละ 73 ในปี พ.ศ. 2538 และมีการใช้นโยบายนี้เพิ่มขึ้นอีก 7 ประเทศในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งรวมๆ แล้วประเทศทั้งหมดที่มีการใช้นโยบายนี้ราวร้อยละ 751
สำหรับประเทศไทย การสนับสนุนนโยบายนี้ยังไม่เต็มรูปแบบคือ ส่วนใหญ่จะลาคลอดได้ราว 90 วัน โดยการจ่ายเงินชดเชยขึ้นอยู่กับสิทธิว่าเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือลูกจ้าง หากเป็นไปได้ ในอนาคตอันใกล้ ถ้าเราได้เห็นนโยบายเหล่านี้ได้นำมาใช้ปฏิบัติ ปัญหาในเรื่องการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการที่มารดากลับไปทำงานน่าจะลดลง
เอกสารอ้างอิง
- Atabay E, Moreno G, Nandi A, et al. Facilitating working mothers’ ability to breastfeed: global trends in guaranteeing breastfeeding breaks at work, 1995-2014. J Hum Lact 2015;31:81-8.