รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ?-เมื่อมารดาต้องการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากกลับบ้าน มารดาอาจจะต้องการการสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจขณะมารดาเรียนรู้ในการดูแลทารก โดยมารดาอาจต้องการความช่วยเหลือ หาก
- มีภาระงานในการดูแลลูกอีกคนหรือสมาชิกอื่นในครอบครัว
- เป็นคุณแม่มือใหม่
- ให้นมลูกด้วยความยากลำบาก
- จำเป็นต้องทำงานนอกบ้านและต้องแยกลูกไว้ที่บ้าน
- ต้องแยกจากทารกโดยติดต่อได้เฉพาะผู้ดูแลทารก
- ได้รับข้อมูลที่สับสนหรือขัดแย้งกันจากหลายๆ คน
- มารดาหรือทารกมีปัญหาเรื่องสุขภาพ
–บางครั้งมารดาอาจจะคิดว่าต้องทำทุกๆ อย่างได้ด้วยตนเอง โดยการขอความช่วยเหลืออาจแสดงว่าเป็นมารดาที่ไม่พร้อมหรือไม่สามารถบริหารจัดการได้ แต่ในความเป็นจริง เมื่อเราเรียนรู้ในเรื่องใหม่ๆ อาจจำเป็นต้องใช้เวลา และบางครั้งอาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ซึ่งในการเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นแม่ก็เช่นกัน มารดาควรต้องเรียนรู้ว่ามีสิ่งสนับสนุนหรือช่วยเหลือใดๆ หากมารดามีความจำเป็นหรือต้องการเมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
-การติดตามมารดาที่ใช้อาหารอื่นทดแทนนมแม่ก็มีความสำคัญ เพราะต้องมั่นใจว่า มารดาเลือกวิธีการให้อาหารที่เหมาะสมแล้ว เพราะมารดาอาจต้องการความช่วยเหลือหากต้องการเปลี่ยนชนิดของอาหารทดแทนนมแม่
-การพูดคุยกับมารดาตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ว่ามีสิ่งสนับสนุนใดบ้างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยให้มารดามีความมั่นใจในการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หนังสืออ้างอิง
- WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009