รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การใช้ยาในการรักษา จะขึ้นอยู่กับเป้าประสงค์ในการรักษา ซึ่งจะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ สตรีที่ยังไม่ต้องการมีบุตร กับสตรีที่ต้องการมีบุตร รายละเอียดมีดังนี้
- สตรีที่ไม่ต้องการมีบุตร จะให้การรักษาเพื่อเป้าประสงค์ในการลดการมีภาวะฮอร์โมนเพศชายมาก อาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ช่วยคุมกำเนิด และช่วยป้องกันการมีเยื่อบุโพรงมดลูกหนา และการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยการรักษาในกลุ่มนี้จะใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานในการรักษา เนื่องจากสามารถตอบสนองต่อเป้าประสงค์ได้ดี
- สตรีที่ต้องการมีบุตร จะให้การรักษาเพื่อให้สตรีมีการตกไข่และตั้งครรภ์ได้ ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้จะใช้ยากระตุ้นไข่ตก ได้แก่ letrozole, clomiphene และ gonadotropin และอาจใช้ metformin ร่วมในการรักษาด้วยในกรณีที่มารดามีความต้านทานอินซูลิน มีกลุ่มอาการเมตาบอลิก หรืออ้วน1-3 นอกจากนี้ในบางรายอาจเลือกใช้การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเจาะหรือจี้ไฟฟ้าที่ถุงน้ำของรังไข่ (ovarian drilling)4
เอกสารอ้างอิง
- Banaszewska B, Pawelczyk L, Spaczynski R. Current and future aspects of several adjunctive treatment strategies in polycystic ovary syndrome. Reprod Biol 2019;19:309-15.
- Gadalla MA, Norman RJ, Tay CT, et al. Medical and Surgical Treatment of Reproductive Outcomes in Polycystic Ovary Syndrome: An Overview of Systematic Reviews. Int J Fertil Steril 2020;13:257-70.
- Jin P, Xie Y. Treatment strategies for women with polycystic ovary syndrome. Gynecol Endocrinol 2018;34:272-7.
- Artini PG, Obino MER, Sergiampietri C, et al. PCOS and pregnancy: a review of available therapies to improve the outcome of pregnancy in women with polycystic ovary syndrome. Expert Rev Endocrinol Metab 2018;13:87-98.