การพิชิตอุปสรรคที่ขัดขวางการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด(ตอนที่2)

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ห้องคลอดยุ่ง หากห้องคลอดยุ่ง ทารกและมารดาอาจได้รับการย้ายมาที่หอผู้ป่วยเพื่อให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกและทำต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยได้

??????? ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะอยู่กับมารดาและทารก สมาชิกในครอบครัวสามารถจะเฝ้าอยู่กับมารดาและทารกได้

??????? ทารกไม่ตื่นตัว หากทารกง่วงนอนจากการได้ยาลดอาการปวด การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกยิ่งจำเป็นเพื่อช่วยสนับสนุน สร้างความผูกพัน และช่วยในการดูดนมแม่ด้วย

??????? มารดาเหนื่อย จะมีน้อยมากที่มารดาจะเหนื่อยมากจนไม่อยากอุ้มลูก การได้สัมผัสกับทารกจะทำให้มารดาผ่อนคลาย บุคลากรควรทบทวนแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ด้วยว่ามีการปฏิบัติใดที่ทำให้มารดารู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง เช่น การงดน้ำงดอาหาร การคลอดที่เนิ่นนานเกินไป เป็นต้น

??????? มารดาไม่ต้องการอุ้มลูก การที่มารดาไม่ต้องการอุ้มลูกอาจจะบ่งถึงว่า มารดาอาจมีภาวะซึมเศร้าหรือมีความเสี่ยงที่จะทอดทิ้งลูก การให้มารดาได้สัมผัสกับลูกจะลดความเสี่ยงเหล่านี้

??????????? ในการคลอดทารกแฝด หลังทารกคนแรกคลอด การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาสามารถทำได้จนกระทั่งมารดาเบ่งคลอดทารกคนที่สอง ในช่วงนั้นทารกอาจอยู่กับสมาชิกในครอบครัว เมื่อคลอดทารกคนที่สองแล้ว ทารกทั้งสองคนสามารถสัมผัสกับผิวของมารดาต่อและช่วยเรื่องการดูดนมแม่ของทารกเมื่อพร้อม

??????????? การเพิ่มแบบบันทึกและจดเวลาเริ่มของการให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาและเวลาสิ้นสุดการให้สัมผัสในแฟ้มการดูแลการคลอดจะเป็นประโยชน์ โดยจะแสดงถึงการให้ความสำคัญในกระบวนการปฏิบัตินี้เช่นเดียวกับการปฏิบัติอื่นที่ต้องบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?