การพัฒนาจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีต่อทั้งมารดา ทารก ชุมชนและประเทศชาติ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีมากมาย ยกตัวอย่าง ได้แก่ ความรู้และทัศนคติของมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้บริการในระบบสุขภาพ สามี ญาติ เพื่อน สังคม ที่ทำงานหรือสถานประกอบการ ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ สื่อสารมวลชน เป็นต้น

??? โดยในประเทศไทย อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนในปี 2548 ร้อยละ 5.4 ซึ่งต่ำเป็นอันดับที่สามจากสุดท้ายของโลก จากสถานการณ์เดิมที่เป็นอยู่ ทำให้มีการตื่นตัว ร่วมมือ รณรงค์ส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จนได้มีการสำรวจอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งในปี 2559 พบว่าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23 อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เริ่มต้นที่โรงพยาบาล ดังนั้น การพัฒนาให้บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้และเจตคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้การสนับสนุนมารดาและครอบครัวให้สามารถดูแลและเลี้ยงดูทารกได้ก่อนได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน นั่นคือ การพัฒนาสร้างให้มีครูแพทย์/ครูพยาบาลที่สนใจและเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความสำคัญด้วย นอกจากนี้ ครูแพทย์ยังจำเป็นต้องมีความรู้ การปฏิบัติที่ทันสมัย สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและมีเพียงพอ ร่วมกับมีการจัดการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตรและการประเมินผลที่ชัดเจนและเหมาะสม จึงได้เกิดโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน เริ่มต้นในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการดำเนินที่ผ่านมา ได้แก่

  • การพัฒนาอาจารย์สูติแพทย์และกุมารแพทย์
  • การจัดหลักอบรมอาจารย์ทั้ง basic และ advanced course
  • ผลักดันให้แพทยสภา เพิ่มเกณฑ์ความรู้ความสามารถของบัณฑิตแพทย์ จนได้มีการเขียนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2555 (Medical Competency Assessment Criteria for National License 2012 )
  • จัดทำแผนการเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนิสิต/นักศึกษาแพทย์ในปี 2556 โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางคลินิก มีแนวทางการดำเนินงานตามบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลักสำคัญคือ การชี้แจงขอบเขตการจัดการเรียนการสอน
    • การจัดแผนการเรียนการสอน
    • การแนะนำสื่อและวิธีการเข้าถึงสื่อ
    • การประเมินผลในขณะปฏิบัติงานและการสอบลงกอง

? ? ? ? ? ? ? ?ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ในห้องฝากครรภ์ให้ทราบบันไดขั้นที่ 3 การเรียนรู้ที่ห้องคลอดให้ทราบบันไดขั้นที่ 4 การเรียนรู้ที่หอผู้ป่วยหลังคลอดและหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดให้ทราบถึงบันไดขั้นที่ 5-9 การเรียนรู้ที่คลินิกเด็กสุขภาพดีให้ทราบถึงบันไดขั้นที่ 10

  • ผลิตสื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ตำรา ภาพพลิก powerpoint วิดีโอ CAI อุปกรณ์สอนข้างเตียงและหุ่นที่ใช้สอนแสดง
  • เยี่ยมสถาบันที่จัดการเรียนการสอนเพื่อรับทราบปัญหาและหาทางช่วยเหลือแก้ไข
  • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้แก่สถาบันผลิตแพทย์ในภูมิภาค ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ครั้ง และภาคใต้ 2 ครั้ง

สำหรับผลผลิตที่ต้องการได้แก่ ?Smart doctor on breastfeeding? ที่ต้องมีความเก่ง พอเหมาะ ถูกต้อง กำลังดี และมีประสิทธิภาพ โดยร่วมมือกับพยาบาลมี teamwork ที่ดี ที่จะนำสู่เป้าหมาย ?162 คือ เพื่อให้แม่ได้เริ่มให้นมลูกตั้งแต่ใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก และหลังจากนั้นให้ลูกกินนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่า?

ที่มาจากการบรรยายของ ศ.คลินิก เกียรติคุณ สุวชัย อินทรประเสริฐ และอาจารย์ยุพยง แห่งเชาวนิช ในงานประชุมพัฒนาเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ วันที่ 30 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2560