การนอนเตียงร่วมกันช่วยให้ทารกกินนมแม่ได้นานขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ความใกล้ชิดระหว่างมารดาและทารกในการนอนร่วมเตียงเดียวกัน จะช่วยให้มารดาสามารถสังเกตอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกว่าทารกหิว ซึ่งจะทำให้มารดาให้นมลูกได้ตามความต้องการของทารกและมีระยะเวลาการกินนมแม่ที่นานกว่ามารดาที่แยกกันนอนโดยทารกห่างจากมารดาหรืออยู่คนและห้องกับมารดา1 อย่างไรก็ตาม การที่ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาควรต้องจัดสถานที่ให้มีความปลอดภัย ปราศจากร่องหรือช่องที่ทารกอาจพลัดหล่นลงไปได้ หมอนหรืออุปกรณ์บนเตียงที่ใช้กับทารกไม่ควรนุ่มจนเกินไปจนอาจทำให้ทารกจมลงตามน้ำหนักตัวและอุดกั้นการหายใจของทารกได้ ควรหลีกเลี่ยงการใส่ตุ๊กตาลงในที่นอนทารกเพราะส่วนใหญ่จะนุ่มทำให้เสี่ยงอันตรายดังที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจสะสมฝุ่นละอองและดูแลความสะอาดได้ยากขึ้น ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักใช้ฟูกนอน ทารกอาจนอนใกล้หรือบนฟูกที่นอนเดียวกันกับมารดา แต่ควรมีพื้นที่กว้างขวางพอและควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัยเช่นเดียวกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Bovbjerg ML, Hill JA, Uphoff AE, Rosenberg KD. Women Who Bedshare More Frequently at 14 Weeks Postpartum Subsequently Report Longer Durations of Breastfeeding. J Midwifery Womens Health 2018.

?