รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีของทารกจากมารดาที่ติดเชื้อตับอักเสบบีเรื้อรังตามทฤษฎีจะเกิดส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่ระหว่างการคลอด โดยจะเกิดจากการปนเปื้อนเลือดมารดาและทารกขณะเจ็บครรภ์คลอดและการกลืนน้ำคร่ำของทารก มีการศึกษาถึงระยะเวลาเจ็บครรภ์คลอดในช่วงที่มารดาอยู่ในระยะคลอดที่หนึ่ง หากเกินกว่า 9 ชั่วโมงจะมีความสัมพันธ์กับการตรวจพบ HBsAg ในเลือดจากสายสะดือทารกโดยความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง1 เนื่องจากมีการรั่วซึมและปนกันระหว่างเลือดมารดาและทารก สำหรับการมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในช่องทางคลอด ภายในโพรงมดลูก และน้ำคร่ำจะเกิดจากการติดเชื้อผ่านการสัมผัสของเซลล์ และติดเชื้อเข้าไปในน้ำคร่ำ การกลืนน้ำคร่ำของทารกจึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วย2
หนังสืออ้างอิง
?1.???????? Wong VC, Lee AK, Ip HM. Transmission of hepatitis B antigens from symptom free carrier mothers to the fetus and the infant. Br J Obstet Gynaecol 1980;87:958-65.
2.???????? Pao CC, Yao DS, Lin MY, Lin CY, Hsieh TT. Hepatitis B virus DNA in cervicovaginal cells. Arch Pathol Lab Med 1991;115:607-9.
?
?