การตรวจยืนยันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การรายงานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ส่วนใหญ่จะได้ข้อมูลจากความจำของมารดาเป็นหลัก ซึ่งข้อจำกัดจะขึ้นอยู่กับความจำและความยาวนานของระยะเวลาในการฟื้นความทรงจำ ทำให้ความน่าเชื่อถือจึงมีน้อย โดยความน่าเชื่อถือจะดีขึ้นหากมีการเก็บข้อมูลไปข้างหน้าและประกอบกับการมีการจดบันทึกข้อมูลที่ชัดเจน สำหรับการตรวจยืนยันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์จึงมีความน่าสนใจ โดยมีความพยายามที่จะตรวจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวด้วยการให้มารดาดื่มสารกรัมมันตรังสีขนาดต่ำที่จะผ่านไปยังนมแม่ แล้วไปตรวจยืนยันจำนวนที่ผ่านไปยังทารกเพื่อตรวจยืนยันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการใช้การตรวจคาร์โบไฮเดรตในอุจจาระของทารกโดยการตรวจโมโนแซกคาไรด์และโอลิโกแซกคาไรด์ที่ทารกอายุสองเดือนและห้าเดือน1 ซึ่งผลจากงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการตรวจสอบยืนยันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสำหรับการที่ต้องการศึกษาวิจัยที่ต้องการหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือ

เอกสารอ้างอิง

1.            Ranque CL, Stroble C, Amicucci MJ, et al. Examination of Carbohydrate Products in Feces Reveals Potential Biomarkers Distinguishing Exclusive and Nonexclusive Breastfeeding Practices in Infants. J Nutr 2020;150:1051-7.