รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? 3.โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum depression มารดาจะมีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเลี้ยงดูทารก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่วมกับมารดาอาจรู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำร้ายตัวเองและทำร้ายบุตรได้ อาการนี้เกิดได้ในช่วงหลังคลอดเช่น แต่อาการมักยาวนานและต่อเนื่องกันนานกว่าสองสัปดาห์ การดูแลโรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้นมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์และทีมที่ร่วมในการรักษา เนื่องจากมารดามีอาการซึมเศร้ารุนแรงในระดับที่ถือว่าผิดปกติและนับเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน การใช้ยาร่วมในการรักษามีความจำเป็น ยาที่ใช้มีหลายชนิด โดยที่ยาที่มักเลือกใช้ก่อนมักใช้ยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ได้แก่ sertraline (Zoloft), paroxetine (Paxil) และ escitalopram (Lexapro) เนื่องจากระดับยาที่พบในน้ำนมมีระดับต่ำ สำหรับยา Fluoxetine (Prozac) ใช้รักษาได้ดี แต่ค่าครึ่งชีวิตของยายาวนานกว่า ยาจะผ่านไปที่น้ำนมมากกว่า ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ โดยหากมีความจำเป็น ควรมีการติดตามดูอาการข้างเคียงที่อาจพบได้ในทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้ หากมารดาปราศจากความคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือทำร้ายลูก ดังนั้น ก่อนการวางแผนการรักษาจำเป็นต้องมีการประเมินมารดาถึงความเสี่ยงนี้
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.