การดูแลระหว่างคลอดมีผลอย่างไรต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                กระบวนการการดูแลระหว่างการคลอด หากดูแลอย่างเหมาะสม จะสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งได้แก่ การให้อาหารว่างและน้ำกับมารดาในช่วงการคลอดระยะเริ่มต้น การให้อิสระกับมารดาในการเคลื่อนไหวในระหว่างการรอคลอด และการให้การสนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์กับมารดาระหว่างการคลอด ส่งผลทำให้มารดาเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เร็วกว่า เนื่องจากช่วยลดความเครียดและความอ่อนเพลียในระหว่างการรอคลอดซึ่งมีผลทำให้น้ำนมมาช้าด้วย1-3 ขณะที่การผ่าตัดคลอดเป็นอุปสรรคต่อการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างไรก็ตาม สำหรับมารดาที่นัดผ่าตัดคลอด การให้คาร์โบไฮเดรตชนิดน้ำรับประทานก่อนผ่าตัดจะช่วยให้มารดาเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เร็วกว่าการงดน้ำงดอาหาร4

เอกสารอ้างอิง

  1. Grajeda R, Perez-Escamilla R. Stress during labor and delivery is associated with delayed onset of lactation among urban Guatemalan women. J Nutr 2002;132:3055-60.
  2. Dewey KG, Nommsen-Rivers LA, Heinig MJ, Cohen RJ. Risk factors for suboptimal infant breastfeeding behavior, delayed onset of lactation, and excess neonatal weight loss. Pediatrics 2003;112:607-19.
  3. Chapman DJ, Perez-Escamilla R. Identification of risk factors for delayed onset of lactation. J Am Diet Assoc 1999;99:450-4; quiz 5-6.
  4. Fard RK, Tabassi Z, Qorbani M, Hosseini S. The Effect of Preoperative Oral Carbohydrate on Breastfeeding After Cesarean Section: A Double-Blind, Randomized Controlled Clinical Trial. J Diet Suppl 2018;15:445-51.